News

สงครามลิขสิทธิ์ AI: เมื่อปัญญาประดิษฐ์เสี่ยงสูญพันธุ์

โลกของ Generative AI กำลังร้อนแรง หนึ่งในประเด็นใหญ่คือคดีละเมิดลิขสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อบริษัท AI อย่าง OpenAI และ Stability AI นี่คือเหตุผลที่เชิญอดีตทนายความมาพูดคุยถึงคดีเหล่านี้ และแนวทางการต่อสู้ที่เรียกว่า “การใช้งานอย่างเป็นธรรม” (Fair Use)

โมเดล AI ทั้งหมด ล้วนแต่ถูกฝึกด้วยข้อมูลมหาศาลจากอินเทอร์เน็ต นั่นทำให้บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น The New York Times หรือ Getty Images ยื่นฟ้อง โดยกล่าวหาว่าบริษัท AI ขโมยผลงานและหากำไรจากมัน ซึ่งเปรียบได้กับการละเมิดลิขสิทธิ์โดยชัดเจน

กฎหมายลิขสิทธิ์ยังคงยึดหลักเรื่องการคัดลอก และควบคุมว่าการคัดลอกแบบไหนถูกหรือผิด เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานโดยปราศจากการคัดลอกไม่ได้ กฎหมายนี้เลยวนเวียนอยู่ในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตที่ใครๆ ก็ทำสำเนาและกระจายมันได้อย่างรวดเร็ว

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ควบคุมอำนาจของกฎหมายลิขสิทธิ์ นั่นคือหลัก “การใช้งานอย่างเป็นธรรม” ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนในกฎหมาย โดยยอมให้ทำสำเนาในบางรูปแบบได้ แต่เนื่องจากกฎหมายไม่สามารถครอบคลุมทุกกรณีล่วงหน้า มันจึงมีแบบทดสอบอยู่ สี่ประการ ที่ให้ศาลใช้พิจารณาว่าการคัดลอกนั้นเข้าข่ายใช้งานอย่างเป็นธรรมหรือไม่

ทว่าระบบกฎหมายไม่ได้ฟันธงได้เสมอ แต่ละศาลสามารถตีความต่างกัน การตัดสินกรณีหนึ่งไม่ได้ผูกมัดอีกกรณีหนึ่ง นั่นทำให้เรื่องนี้มีแต่ความคลุมเครือ และแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะเดาผลคดีละเมิดลิขสิทธิ์ คดีส่วนใหญ่ถึงดูเหมือนการเสี่ยงดวง ยิ่งไปเจอกับเงินและเทคโนโลยี AI ความซับซ้อนยิ่งทวีคูณ

เดิมพันนี้สูงมาก นี่อาจเป็นวิกฤตระดับล้มทั้งอุตสาหกรรม AI ยุคใหม่ได้ ซึ่งรุนแรงเทียบเท่ากับกรณี Napster หรือเว็บแชร์ไฟล์ที่เจอเมื่อช่วงต้นปี 2000 เราเองก็เห็นกันแล้วว่าคำตัดสินเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในสมัยนั้น เปลี่ยนทั้งบริษัทและหน้าตาของกฎหมายไปตลอดกาล

Source
theverge

Tanjen S.

ติดตามข่าวสารล่าสุดในวงการไอทีและเกมส์ วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเป็นบทความข่าวที่น่าสนใจ อ่านง่าย และเข้าใจง่าย

Related Articles